ไดฟูกุ ที่สุดของขนมหวานแห่งญี่ปุ่น กับสิ่งที่คุณควรจะรู้
ไดฟูกุ ขนมแสนอร่อยแดนปลาดิบ หนึ่งในขนมของญี่ปุ่น ที่ครองใจใครหลาย ๆ คนในวันนี้ เรามาทำความรู้จักเจ้าขนมแสนอร่อยนี้กันเถอะ
กราบสวัสดีค่ะ เพื่อนที่แสนดีของคุณ ComBicJung เองนะและในวันนี้ ก็มาพร้อมกับ สิ่งที่น่าสนใจนั้นคือ Daifuku หนึ่งในขนมแสนอร่อย ของคนญี่ปุ่น ที่เชื่อว่าเพื่อน ๆ หลายคนอาจจะชอบ เจ้าขนมตัวน้อยเหล่านี้ และวันนี้เราก็มีสาระ กับเจ้าขนมตัวนี้มาแบ่งปันกันค่ะ
ที่มาของไดฟูกุจัง
ขนมไดฟูกุ หรืออีกชื่อคือ อุซึระโมจิ แปลเป็นความหมายของไทยคือ ขนมไข่นกกระทา เจ้าขนมชนิดเกิดขึ้นในราว ๆ ในช่วงของยุคเอโดะ น่าจะช่วงปีที่ 1770 – 1775 เจ้าขนมตัวเล็กนี้ก็ได้ถือกำเนิดขึ้น ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่งในเมือง โคะกาว่า
แต่เดิมแล้วจุดประสงค์ ของการทำขนมพวกนี้ คือการทำอาหาร ที่ไม่ใช่อาหารหลัก และทำให้อิ่มอยู่ท้องได้นาน เมื่อทุกอย่างหลอมรวมกันก็ได้กลายมาเป็น เจ้าขนมที่ชื่อว่า ฮะระฟุโตะโมจิ คือขนมที่ถูกปั้นจากแป้งโมจิ สอดไส้ด้วยถั่วแดงผสมกับน้ำตาล
ฮะระฟุโตะโมจิ แปลว่าขนมที่กินแล้วอิ่มท้อง ต่อมาด้วยชื่อที่ยาวและศัพท์ที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย ก็ได้ตั้งชื่อใหม่ให้เป็นชื่อ ไดฟูกุโมจิ โมจิ ซึ่งแปลว่า ขนมแห่งความโชคดีนี่เอง
แล้วจะรู้ได้ไวไหนคือไดฟูกุ
ตามความเข้าใจเดิมแล้วไดฟูกุ คือขนมที่ทำจากแป้งของโมจิค่ะ ถ้าเป็นโมจิที่สอดไส้ด้วยถั่วแดง ก็เรียกว่าไดฟูกุได้หมดเลย แต่เรื่องความอร่อยไม่อร่อยนั้นอีกเรื่องนะคะ โดยทั่วไปแล้วจะเจอไดฟูกุได้ หลายรสชาติมาก ๆ อันเนื่องจากสูตรที่ไม่ตายตัว
และความชอบส่วนบุคคล แต่ที่พบกันได้หลักๆ เลยคือ
1 ไดฟูกุสตอเบอรรี่
คือหนึ่งในไดฟูกุที่ยอดนิยมที่สุด เพราะด้วยการทานาถั่วแดง กับสตอเบอรรี่ นั้นช่างหลงตัวเหลือเกิน และด้วยความเปรี้ยว ตัดเลี่ยนหวานของถั่วแดง จึงไม่แปลกใจเลยค่ะว่า ทำไมถึงเป็นที่นิยม และพบเห็นได้บ่อยขนาดนี้
2 ไดฟูกุไส้ชาเขียว
พูดถึงขนมญี่ปุ่น จะไปมีส่วนผสมอะไร ที่จะเข้าไปกว่าของกินพื้นบ้านใช่ไหมคะ ชาเขียวอีกหนึ่งของรสที่ชาวญี่ปุ่นและคนทั่วโลกชื่นชอบ มันคือสุดยอดของวัตถุดิบ ที่ใส่กับอะไรก็ทำให้มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์น่ากินไปหมดเลยค่ะ
เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับสาระน้อยๆ เกี่ยวกับเจ้าขนมไดฟูกุ ถ้าเพื่อนผู้อ่านชอบก็อย่าลืม ติดตามบทความได้ที่นี่นะคะ อย่าลืมนะคะถ้าชอบก็สามารถแบ่งปันให้กับเพื่อน และคนที่คุณรักได้ค่ะ ไว้พบกันใหม่กับเรา เพื่อนที่แสนดีของคุณ ComBicJung นะคะ
เขียนโดย ComBic.III