ขนมลา ขนมสีเหลืองทองขนมเก่าแก่ของชาวใต้
ขนมลา อีกขนมของไทย ที่มีความสำคัญ ต่อประเพณีของชนชาวใต้ นอกจากนี้ยังมีทั้งชื่อ และหน้าตาที่แปลก ไม่เหมือนกับขนมหวานชนิดอื่น ความเป็นมาของขนมลานั้น จะเป็นอย่างไร ทำไมถึงต้องมีรูปร่างแบบที่เห็น
กราบสวัสดีเจ้าค่ะ ผู้อ่านที่น่ารักทุกท่าน กลับมาพบกับ ComBicJung เพื่อนนักเล่าที่แสนดีของคุณ ที่วันนี้มาพร้อมกับ ประวัติศาสตร์ของขนม อีกเช่นเคยค่ะ
และในหัวข้อวันนี้ คือขนมที่มีวัฒนธรรมอันยาวนาน ของคนใต้อย่าง ขนมลา คนใต้
ประวัติความเป็นมา
ทำไมขนมชนิดนี้ ถึงมีชื่อว่า “ลา” ที่มาของชื่อขนมชนิดนี้ มาจากคำส่วนหนึ่ง ของกระบวนการทำ ขั้นตอนในการทำขนมลา จำเป็นที่จะต้องทาน้ำมัน ที่ก้นของกระทะเสียก่อน
เพื่อไม่ใช้ไข่แดงจากส่วนผสม ของขนมนั้นติดกระทะ ในกระบวนการทาน้ำมันนี้ล่ะ ที่จะเป็นชื่อเรียกของขนม เพราะในภาษาถิ่นชาวใต้ เรียกขั้นตอนนี้ว่า “ลามัน” จึงทำให้ขนมนี้มีชื่อว่า “ลา” นั้นเอง
แล้วทำไมถึงต้องมีลักษณะ ที่ผ้าแพรสีทองแบบนั้น ถ้าอ้างอิงจากประวัติศาสตร์ ของชาวนครศรีธรรมราช กล่าวไว้ว่า ในวันแรม 15 ค่ำเดือน 10 จะเป็นวันสารท ซึ่งคือวันที่มีเทศกาลหมรับ
คือการเทศกาลที่จะนำข้าวของและขนมมาถวาย แด่พระภิกษุทั้งหลาย อันด้วยของทั้ง 5 ประการคือ
1 ลา แทนดั่งผ้าแพรเครื่องนุ่งห่ม
2 พอง แทนดั่งแพ ให้กับบรรพชนที่ล่วงลับ
3 กง แทนเป็นเครื่องประดับไข่มุก
4 ดีซำ แทนเงินเบี้ย ไว้ใช้ในภพภู
5 บ้า ใช้แทนลูกสะบ้า ไว้ให้บรรพชนเล่นกัน
ประเภทของขนมชนิดนี้มีอะไรบ้าง
แต่เดิมแล้วเจ้าขนมชนิดนี้จะมีอยู่ 2 ประเภทหลักดังนี้
1 ลา เซต คือ ขนมลาที่ทำโดยวิธีการตามปกติ แต่เมื่อทอดเสร็จแล้วจะนิยมพักทิ้งไว้ ให้เป็นรูปทรงกลม หรือพับให้เป็น ขนมลารูปแห
2 ลา กรอบ คือ คือขนมลาที่กำลังเซตตัว มาโรยด้วยน้ำตาล ม้วนด้วยไม้ให้เป็นทรง แล้วนำไปตากแดดให้แห้งเป็นทรงจึงนำไม้ออก
และทั้งหมดนี้คือข้อมูลที่ ComBicJung นำมาให้ผู้อ่านทุกท่านค่ะ เป็นอย่างไรกันบ้างคะ ชอบข้อมูลเกี่ยวกับขนมชนิดนี้หรือเปล่า
ส่วนตัวคิดว่าประวัติศาสตร์ ของขนมชนิดนี้ น้อยมากเลยค่ะแต่ก็หวังว่า สักวันจะมีนักวิชาการ หรือนักประวัติศาสตร์มาค้นคว้า
ถึงวัฒนธรรมของขนมชนิดนี้ ให้กับพวกเราได้รู้กันมากกว่านี้นะคะ และก็อย่าลืมถ้าคุณชอบเนื้อหานี้ ก็สามารถแบ่งปันให้กับเพื่อน หรือคนที่คุณรักได้นะคะ ไว้พบกันใหม่กับ ComBicJung เพื่อนที่แสนดีของคุณค่ะ
เขียนโดย ComBic.III