ขนมชูครีม ขนมหวานจากประเทศ ที่ใครหลายคนเข้าใจผิด
ขนมชูครีม ขนมหวานจากประเทศ สวัสดีค่า!! คุณผู้อ่านที่น่ารักทุกท่าน พบกันอีกครั้ง กับผู้เล่าสุดน่ารักอย่าง ComBicJung !! และในวันนี้ ก็มีเรื่องเล่าที่น่าสนใจ จากขนมสุดหอมหวาน ที่มั่นใจเลยว่า เป็นอีกหนึ่งขนม ที่ทุกคนชอบค่ะ
นั้นได้แก่คือ “ขนมชูครีม” ใช่ค่ะขนมชูครีม หรือที่บ้านเรามักเข้าใจผิด เรียกเจ้าขนมสุดน่ารักนี้ว่า “เอแคลร์” เพราะฉะนั้นในวัน พวกเราจะมาทำความรู้จัก ชูครีมต้าวขนมสุดน่ารักนี้ กับแบบจริงจังกันค่ะ เนื้อหาจะเป็นอย่างไรมาเริ่มกันเลยค่ะ !!
ขนมชูครีม ขนมหวานจากประเทศ กับความเป็นมา
ขนมชูครีม และ ขนมเอแคลร์ ถึงจะไม่ได้เป็นขนมชนิดเดียวกัน แต่ทั้งสองก็อยู่ในหมวด ขนมประเภทเดียวกันที่เรียกว่า Choux Pastry (ออกเสียงว่า ชูเพสตรี้) และในชื่อของฝรั่งเศสคือ pâte à choux (ปาตาชู)
เจ้าขนมประเภทนี้ เป็นขนมที่เกิดขึ้นในฝรั่งเศส จากตำราทำขนมในตำนานขอเชฟ Pantarelli ได้คิดค้นเจ้าแป้งชนิดนี้ขึ้นในปี ค.ศ. 1540 เข้าใช้เวลาเจ็ดปี ในการคิดค้นสูตรและปรับปรุง จนได้สูตรขนมออกมา และในตอนนั้น ก็ตั้งชื่อเจ้าขนมนี้ว่า pâte à (ปาตา)
หลังจากนั้นผู้ติดตามของเชฟ หรือเหล่าลูกลูกศิษย์ ก็ได้คิดค้นพัฒนาต่อยอด โดยแต่เดิมแล้ว อยากที่จะให้น้อง ๆ พวกนี้เป็นขนม ที่สามารถหยิบทานได้พอดีคำ
และมีหน้าตาที่น่ารัก จึงคิดรูปแบบ หรือทรงออกมาคล้ายกับ หน้าอกของผู้หญิง (เมืองแห่งศิลจริง ๆ) โดยใส่ชื่อของเชฟ ผู้เป็นอาจารย์ลงท้าย จนได้ชื่อออกมาว่า pâte à popelin ซึ่งกลายมาเป็น ขนมสุดหรูของกลุ่มชนชั้นสูง
ในศตวรรษที่ 16 และมีการพัฒนาอีก โดยการปรุงแต่ง ด้วยพวกน้ำและ เนยที่ดีขึ้นในช่วงนั้น จนได้แป้งสุดเอกลักษณ์ ที่ต่อมาก็เรียก แป้งสูตรขนมชนิดนี้ว่า pâte à choux ก่อนที่จะได้เปลี่ยนสูตรอีกครั้งในศตวรรษที่ 18 โดยเชฟ Jean Avice ซึ่งเป็นพ่อครัว ด้านขนมของราชสำนัก Marie Antoinette นั้นเอง
เกร็ดความรู้ เผื่อเข้าใจผิด แต่เดิมแล้วเจ้าขนมสุดน่ารักนี้ ถูกทำให้มีหน้าตาทรงคล้ายกับ หน้าอกของผู้หญิง แต่ด้วยทรงที่น่ารัก เหมือนกะหล่ำปลี เลยถูกเรียกกันว่า Choux โดยมีฐานศัพท์จากคำว่า Cabbage ในภาษาของฝรั่งเศสนี่เอง
ชูครีม มีส่วนประกอบอะไรบ้าง
ต้าวขนมชูครีมตัวน้อย อย่างที่กล่าวไว้ในความเป็นมา นั้นคือมีลักษณะ เหมือนกับกะหล่ำปลี แต่มีเนื้อในที่โป่งพอง นิยมใส่ไส้ครีม หรือตกแต่งบนหน้าของขนม ตามใจความต้องการได้ แต่ถ้าเรียกว่า ชูครีม จะต้อง ไม่หลุดออกจากทรงกะหล่ำปลีเท่านั้น ว่าด้วยขนมชูครีม ที่อยู่ในประเภท ของขนมชูเพสตรี้ มีส่วนผสมหลัก ๆ คือ แป้ง ไข่ เนย และของเหลวจำพวกน้ำเปล่า หรือนมเป็นส่วนผสมด้วยเป็นต้น
นอกจากนี้ขนมประเภท ชูเพสตรี้ยังเป็นขนมอีกหนึ่งประเภท ที่ต้องให้ความร้อนถึงสองรอบ โดยแบ่งส่วนแรกตอนผัดแป้ง และรอบสองคือตอนอบนั้นเอง เหตุที่เจ้าขนมตัวน้อยพวกนี้ มีลักษณะโป่งพอง นั้นมาจากของเหลวในแป้ง ที่โดยความร้อน ทำให้เกิดอากาศภายใน (แหม๋!!! วิชาฟิสิกส์เคมี ได้ใช้ก็วันนี้ล่ะเจ้าค่ะ!!!)
แล้วขนมเอแคลร์ คือขนมอะไรกันแน่ ?
ทั้ง ๆ ที่เป็นหัวข้อของขนมชูครีมแท้ ๆ แต่ก็อดที่จะเล่า ถึงขนมเจ้ากรรม ที่ถูกเรียกแต่ชื่อ แต่คนส่วนใหญ่ในไทยของเรา จะไม่รู้จักกันก็คือ เอแตลร์ แต่เดิมแล้วเจ้าขนมเอแคลร์ ไม่ได้มีหน้าตาเป็น เจ้าต้าวอ้วนน่ารัก ทรงกลมน่าฟัด แบบนั้นหรอกค่ะ
แต่เจ้าเอแคลร์มีหน้าตา เป็นทรงเกลียวยาว โดยฐานคำศัพท์ เดิมของฝรั่งเศสแปลว่า “สายฟ้า” เพราะฉะนั้นแล้ว เอแคลร์จึงมีทรง เกลียวยาวออกทรงแท่ง แต่เนื่องจากเป็น ขนมประเภท ชูเพสตรี้เหมือนกัน จึงมีลักษณะโป่งพอง เหมือนกับชูครีม
แต่ส่วนตัวแล้ว ก็อยากที่จะชิมรสชาติ ที่เป็นต้นกำเนิดของเอแคลร์ เหมือนกันนะคะ ในวงการของขนมกล่าวไว้ว่า เอแคลร์นั้นมีลักษณะ ที่เนื้อหนากว่ามาก ถ้าเทียบกับชูครีมที่ผิวบาง และขนมเอแคลร์ มักจะถูกตกแต่งด้วย “Icing(ไอซิ่ง)” หรือทาบนหน้าด้วย ครีมน้ำตาลต่าง ๆ ครีมช็อกโกแลต มากกว่าการสอดไส้
แต่นั่นก็ไม่ได้แปลว่า เจ้าขนมสายฟ้าอย่างเอแคลร์ จะไม่มีไส้อันหอมหวานนะคะ แต่บางเจ้าจะไม่นิยมใส่ เพราะใช้เนื้อแป้งออกเค็มตัดเลี่ยน กับครีมบนหน้ามากกว่า
ชูครีม หากินยากไหมหาจากไหน
ขนมพวกชูครีมจริง ๆ แล้วสามารถหาทานได้ หลายที่หลายร้านมาก ๆ แต่ร้านที่แนะนำให้ไป ก็จะเป็นพวกคาเฟ่ หรือร้านเบเกอรี่มากกว่า แต่อย่าลืมนะคะ เรียกว่าชูครีม ถ้าเรียกเอแคลร์ จะได้ของไม่ตกที่ต้องการเอาได้นะ
สำหรับคนที่บ้าน ไกลจากตัวเมืองหรือตลาด หรือไกลจากเขตที่ ที่สามารถหาร้านขนมปังได้ ก็อยากจะแนะนำ ร้านสะดวกซื้อสุดยอดฮิตตลอดการอย่างเซเว่น ที่มีชูครีมสูตรญี่ปุ่น ที่เชื่อว่าน่าจะ (น่าจะ) มีคนชอบนะคะ (แต่เราว่ามันจืดไป)
ส่วนตัวอยากให้ผู้อ่าน หาประสบการณ์จาก การทานแบบสดใหม่มากกว่าค่ะ เพราะรสชาติ และแป้งของต้าวขนมตัวน้อย น่าฟัดพวกนี้ ตอนกำลังอุ่น นี่คือผิวเนื้อดีมากกว่า ตอนทานแบบเย็น ๆ แบบคนละเรื่องจริง ๆ
สรุปความน่ารักของเจ้าชูครีม
และก็มาถึง หัวข้อสุดท้ายของ เรียกความอันนี้แล้วนะเจ้าคะ เรามาทวนกันก่อนว่า “ชูครีม” รูปเหมือนกะหล่ำปลี หรือที่บ้านเราเรียกว่า “เอแคลร์” แต่เจ้าขนมเอแคลร์ แท้ที่จริงแล้วหน้าตา เป็นทรงแท่งเกลียว เหมือนดั่งสายฟ้า นี้ล่ะที่เรียกว่า ขนมเอแคลร์ค่ะ
โดยส่วนตัวแล้ว ตัวผู้เขียนไม่ได้เป็นคนที่ ชอบทานขนมสักเท่าไร จนช่วงปลายปีของสองปีที่แล้ว พี่ชายชอบซื้อ ขนมพวกชูครีมและขนมปัง มากให้ทานแบบบ่อยมาก ๆ เรียกว่าขุนจนอ้วน เลยได้รู้จักกับรสชาติอันน่าหลงไหน
หรือที่เรียกว่า พวกเสพติดของหวานนั้นเอง ทำให้ผู้เขียนสนใจน้อย ๆ กับรสชาติของขนม รวมไปถึงวิธีการทำขนมต่าง ๆ และได้รู้ว่าแบบไหน ถึงเรียกว่าดี และแบบไหนที่ไม่ดี แบบไหนที่ถูกหรือ แบบไหนที่ไม่ถูกนี่เองค่ะ
เป็นอย่างไรบ้างคะ กับสาระที่ ComBicJung เอามาฝากกันวันนี้ ส่วนตัวนะคะ คือตัวเองได้สาระในการเอามา เล่าให้กับผู้อ่านทุกคนมาก ๆ เพราะประสบการณ์ ของการทานขนมของเรา ก็ไม่ได้มีมากถึงขนาด ว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญ
เป็นเพียงความรู้ และความรู้สึก ของบุคคลคนธรรมดาที่ชื่นชอบ และหลงใหลในการกินของ จำพวกขนมและอาหารแบบมาก ๆ หวังว่าประสบการณ์ และข้อมูลนี้จะมีประโยชน์ ต่อผู้อ่านที่น่ารักของ ComBicJung ทุกคนเลยนะคะ และอีกยังหวังว่าทุกท่านจะได้ แรงบันดาลใจ ในการตามหาของกิน เหมือนกับผู้เขียนนะคะ ไว้เจอกันใหม่กับเนื้อหาหน้า สวัสดีค่ะ!!!
ไว้พบกันใหม่กับ ComBicJung เพื่อนนักเล่าแสนดีของคุณ